เมนู

ปัตตกัมมวรรคที่ 2



1. ปัตตกัมมสูตร


ว่าด้วยธรรม 4 ประการ


[61] ครั้งนั้นอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า ฯลฯ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรม 4 ประการนี้เป็นที่
ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก ธรรม 4 ประการคืออะไร คือ
ขอโภคสมบัติจงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางที่ชอบ นี่เป็นธรรมประการที่ 1
อัน เป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก
ครั้นได้โภคสมบัติโดยทางที่ชอบแล้ว ขอยศจงมีแก่เราพร้อมกับญาติ
พร้อมกับพวกพ้อง นี้เป็นธรรมประการที่ 2 อัน เป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ
หาได้โดยยากในโลก
ครั้นได้โภคสมบัติโดยทางที่ชอบแล้ว ได้ยศพร้อมกับญาติพร้อมกับ
พวกพ้องแล้ว ขอเราจงเป็นอยู่นาน รักษาอายุอยู่ได้ยั่งยืน นี้เป็นธรรม
ประการที่ 3 อันเป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก
ครั้นได้โภคสมบัติโดยทางที่ชอบแล้ว ได้ยศพร้อมกับญาติพร้อมกับ
พวกพ้องแล้ว เป็นอยู่นาน รักษาอายุอยู่ได้ยั่งยืนแล้ว เมื่อกายแตกตายไป
ขอเราจงไปสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นธรรมประการที่ 4 อันเป็นที่ปรารถนา
รักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก
ดูก่อนคฤหบดี ธรรม 4 ประการนี้แล เป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ
หาได้โดยยากในโลก

ดูก่อนคฤหบดี ธรรม 4 อย่างเป็นทางให้ได้ธรรม 4 ประการ อัน
เป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก (ดังกล่าวแล้ว) นี้ ธรรม
4 อย่างคืออะไร คือ สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) สีล-
สัมปทา
(ความถึงพร้อมด้วยศีล) จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการ
บริจาค) ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ก็สัทธาสัมปทาเป็นอย่างไร อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มี
ศรัทธา เชื่อพระโพธิญาณของพระตถาคต ฯลฯ นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.
ก็สีลสัมปทาเป็นอย่างไร ? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้น
จากปาณาติบาต เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นจากมุสาวาท
เว้นจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่า
สีลสัมปทา.
ก็จาคสัมปทาเป็นอย่างไร ? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ มีใจ
ปราศจากมลทินคือความตระหนี่อยู่ครองเรือน มีการบริจาคปล่อยแล้ว มีมือ
อันล้างไว้ ยินดีในการสละ ควรแก่การเธอ พอใจในการให้และการแบ่งปัน
นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.
ก็ปัญญาสัมปทาเป็นอย่างไร ? บุคคลมีใจอันอภิชฌาวิสมโลภครอบงำ
แล้ว ย่อมทำการที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำการที่ไม่ควรทำ
ละเลยกิจที่ควรทำเสีย ก็ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข บุคคลมีใจอันพยาบาท
ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว ย่อมทำการที่ไม่ควรทำ
ละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำการที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำเสีย ก็ย่อม
เสื่อมทกยศและความสุข
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกทราบว่า อภิชฌาวิสมโลภเป็นอุปกิเลส
แห่งจิต ดังนี้แล้ว ละอภิชฌาวิสมโลภอัน เป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสีย ทราบว่า

พยาบาท. ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ดังนี้
แล้ว ละพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธจัจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา อันเป็นอุปกิเลส
แห่งจิตเสีย เมื่อใดอริยสาวกทราบว่า อภิชฌาวิสมโลภ พยาบาท ถีนมิทธะ
อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาเป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้ว ละอภิชฌาวิสมโลภ
พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสียได้
แล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าผู้มีปัญญาใหญ่ ผู้มีปัญญามาก ผู้เห็น
คลอง ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา.
ดูก่อนคฤหบดี ธรรม 4 อย่างนี้แล เป็นทางให้ได้ธรรม 4 ประการ
อันเป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลกนั้น
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกนั้นย่อมเป็นผู้ทำกรรมที่สมควร 4 ประการ
ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน ที่ต้อง
ทำงานจนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม กรรมที่สมควร 4
ประการคืออะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เลี้ยงตน เลี้ยงมารดาบิดา บุตร ภริยา
บ่าว ไพร่ คนอาศัย เพื่อนฝูง ให้เป็นสุขเอิบอิ่มสำราญดีด้วยโภคทรัพย์ที่ได้
มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน ที่ต้องทำงานจนเหงื่อไหล
ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม นี้กรรมที่สมควรข้อที่ 1 ของอริยสาวกนั้น
เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้ (โภคทรัพย์)
โดยทางที่ควรใช้แล้ว
อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมบำบัดอันตรายทั้งหลาย ที่เกิดแต่ไฟก็ดี เกิด
แต่น้ำก็ดี เกิดแต่พระราชาก็ดี เกิดแต่โจรก็ดี เกิดแต่ทายาทผู้เกลียดชังกันก็ดี
ย่อมทำตนให้สวัสดี (จากอันตรายเหล่านั้น) ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความ

หมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม นี้กรรมที่สมควรข้อที่ 2 ของอริยสาวกนั้น
เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้ (โภคทรัพย์)
โดยทางที่ควรใช้แล้ว
อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมเป็นผู้ทำพลี 5 คือญาติพลี (สงเคราะห์ญาติ)
อติถิพลี (ต้อนรับแขก) ปุพพเปตพลี (ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย) ราชพลี
(ช่วยราชการ) เทวตาพลี (ทำบุญอุทิศให้เทวดา) ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มา
ด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม นี้เป็นกรรมที่สมควรข้อที่ 3
ของอริยสาวกนั้น เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้
(โภคทรัพย์) โดยทางที่ควรใช้แล้ว
อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมตั้ง (บริจาค) ทักษิณาทานอย่างสูง ที่จะ
อำนวยผลดีเลิศ มีสุขเป็นวิบาก เป็นทางสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
ผู้เว้นไกลจากความมัวเมาประมาท มั่นคงอยู่ในขันติโสรัจจะ ฝึกฝนตนอยู่
ผู้เดียว รำงับตนอยู่ผู้เดียว ดับกิเลสตนอยู่ผู้เดียว ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วย
ความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม นี้เป็นกรรมที่สมควรข้อที่ 4 ของ
อริยสาวกนั้น เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้
(โภคทรัพย์) โดยทางที่ควรใช้แล้ว
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกนั้นย่อมเป็นผู้ทำกรรมที่สมควร 4 นี้ ด้วย
โภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน ที่ต้องทำงาน
จนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม
ดูก่อนคฤหบดี โภคทรัพย์ทั้งหลายของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถึงความ
หมดเปลืองไป เว้นเสียจากกรรมที่สมควร 4 ประการนี้ โภคทรัพย์เหล่านี้
เรียกว่าหมดไปโดยไม่ชอบแก่เหตุ หมดไปโดยไม่สมควร ใช้ไปโดยทางที่ไม่

ควรใช้ โภคทรัพย์ทั้งหลาย ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถึงความหมดเปลือง
ไปด้วยกรรมที่สมควร 4 ประการนี้ โภคทรัพย์เหล่านี้เรียกว่าเปลืองไปโดย
ชอบแก่เหตุ เปลืองไปโดยสมควร ใช้ไปโดยทางที่ควรใช้
สิ่งที่ควรบริโภคใช้สอยทั้งหลาย เรา
ได้บริโภคใช้สอยแล้ว บุคคลที่ควรเลี้ยง
ทั้งหลาย เราได้เลี้ยงแล้ว อันตราย
ทั้งหลาย เราได้ข้ามพ้นแล้ว ทักษิณาทาน
อย่างสูง เราได้ให้แล้ว อนึ่ง พลี 5 เราได้
ทำแล้ว สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีศีล
ผู้สำรวม ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เราได้
บำรุงแล้ว บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือนพึง
ปรารถนาโภคทรัพย์เพื่อประโยชน์อันใด
ประโยชน์อันนั้น เราได้บรรลุโดยลำดับ
แล้ว กิจการอันจะไม่ทำให้เดือดร้อนใน
ภายหลัง เราได้ทำแล้ว นรชนผู้มีอันจะ
ต้องตายเป็นสภาพ ระลึกถึงความดีที่ตน
ได้ทำแล้วนี้ ย่อมตั้งอยู่ในอริยธรรม ใน
ปัจจุบันนี้เอง บัณฑิตทั้งหลายย่อม
สรรเสริญนรชนนั้น นรชนนั้นละโลกนี้
ไปแล้ว ยังบันเทิงใจในสวรรค์.

จบปัตตกัมมสูตรที่ 1

ปัตตกัมมวรรควรรณนาที่ 2



อรรถกถาปัตตกัมมสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปัตตกัมมสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า น่าปรารถนา เพราะปฏิเสธคัดค้านธรรมที่ไม่น่าปรารถนา.
ชื่อว่า รักใคร่ เพราะก้าวเข้าไปอยู่ในใจ ชื่อว่า ชอบใจ เพราะทำใจให้
เอิบอาบซาบซ่านให้เจริญ. บทว่า ทุลฺลภา ได้แก่ ได้โดยยากอย่างยิ่ง. บทว่า
โภคา ได้แก่ อารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่บุคคลพึงบริโภค. บทว่า สห ธมฺเมน
ความว่า ขอโภคสมบัติจงเกิดขึ้นโดยธรรม อย่าเข้าไปกำจัดธรรมแล้วเกิดขึ้น
โดยอธรรมเลย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สห ธมฺเมน แปลว่า มีเหตุ อธิบายว่า
โภคสมบัติจงเกิดขึ้นกับด้วยการณ์ คือ ตำแหน่ง มีตำแหน่งเสนาบดีและ
เศรษฐีเป็นต้นนั้น ๆ. บทว่า ยโส ได้แก่ บริวารสมบัติ. บทว่า สห ญาติภิ
ได้แก่ พร้อมกับญาติ. บทว่า สห อุปชฺฌาเยหิ ได้แก่ พร้อมกับเพื่อนเคย
เห็นและเพื่อนคบ ที่เรียกว่าอุปัชฌาย์ เพื่อช่วยดูแลในเรื่องสุขและทุกข์.
บทว่า อกิจฺจํ กโรติ ความว่า ทำการที่ไม่ควรทำ. บทว่า กิจฺจํ อปราเธติ
ความว่า เมื่อไม่ทำกิจที่ควรทำ ชื่อว่าละเลยกิจนั้น . บทว่า ธํสติ ได้แก่
ย่อมตกไปคือย่อมเสื่อม.
บทว่า อภิชฺฌาวิสมโลภํ ได้แก่ อภิชฌาวิสมโลภะ. บทว่า ปชหติ
ได้แก่ บรรเทาคือนำออกไป.
บทว่า มหาปญฺโญ ได้แก่ ผู้มีปัญญามาก. บทว่า ปุถุปญฺโญ
ได้แก่ ผู้มีปัญญาหนา. บทว่า อาปาถทโส ความว่า เขาเห็นอรรถนั้น ๆ
ตั้งอยู่ในคลองธรรม ย่อมมาสู่คลองที่เป็นอรรถอันสุขุมของธรรมนั้น. บทว่า